Uncategorized

โควิด-19

ติดโควิด  รอบนี้เอาไงดี? หากพบว่าติดเชื้อ Covid-19 ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้ แยกตัวจากบุคคลอื่นเป็นเวลา 5 วัน และรับประทานยารักษาตามอาการ เมื่อครบ 5 วันแล้ว ไม่มีไข้ อาการโดยรวมดีขึ้น พบปะบุคคลอื่น ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ให้สวมหน้ากากอนามัย หากยังมีไข้ อาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้แยกตัวเพิ่มเป็น 10 วัน ตรวจ ATK แล้วผลเป็น Negative (-) ทั้ง 2 ครั้ง สามารถถอดหน้ากากอนามัยได้ ถอดหน้ากากอนามัยได้ เมื่อครบเวลา 10 วันแล้วนับตั้งแต่มีอาการ โควิดยังคงอยู่กับเรา ผู้ที่มีอาการควรตรวจด้วย ATK ถ้าพบผลบวก (+) และพบว่าตัวเอง เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น อยู่ในกลุ่ม 608 หรือมีภูมิต้านทานต่ำ แนะนำให้ไปโรงพยาบาลพบแพทย์เพื่อรับยา และแนะนำควรรับวัคซีนเข็มกระตุ้น หากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกิน 6 เดือน ระวัง! ติดโควิดพร้อมไข้หวัดใหญ่เสี่ยงป่วยรุนแรงมากขึ้น อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ และโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกัน และมีโอกาสติดเชื้อร่วมกัน […]

ไข้หวัดใหญ่ 

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โรคไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัดแต่อาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบ และเสียชีวิตได้ อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ▪ มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ▪ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ▪ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ▪ เบื่ออาหาร ▪ คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ ▪ ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้ โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ โดยมากเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แพทย์จะมีการพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) รับประทาน   หากพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง และสงสัยว่ามีอาการไข้หวัดใหญ่ โดยมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก ให้รีบมาพบแพทย์เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ส่วนบุคคลทั่วไปหากมีอาการป่วยและอาการไม่ดีขึ้นใน 2 วัน ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 […]

ไข้เลือดออก

 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่พบการระบาดของโรคไข้เลือดออกครั้งใหญ่ทั่วโลก ประเทศไทยมีผู้ป่วยถึง 24,090 ราย มากกว่าปีที่แล้วถึง 4.2 เท่า เป็นการระบาดสูงสุดในรอบ 3 ปี และมีผู้เสียชีวิต 15 ราย เฉลี่ยมีผู้ป่วยสัปดาห์ละ 900 ราย เสียชีวิตสัปดาห์ละ 1 ราย พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กรุงเทพฯ ภาคใต้ และภาคกลาง โดยนักเรียนอายุ 5 – 14 ปี ป่วยสูงสุด รองลงมา คือกลุ่มอายุ 15-24 ปี        สาเหตุของไข้เลือดออก มี 4 สายพันธุ์ คือ เดงกี 1, 2, 3 และ 4 ประเทศไทยมีการระบาดของ 4 สายพันธุ์วนเวียนกันไปแล้วแต่พื้นที่ […]